1. การกลั่นกรองโครงการ
เป็นกรบวนการเพื่อตัดสินใจว่า โครงการที่ต้องพัฒนานั้น จำเป็นต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่
- การใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจตัดสินใจ
- การกำหนดรายชื่อโครงที่เข้าข่าย
- การกำหนดราื่ยชื่อโครงการที่ไม่เข้าข่าย
- การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
2.การกำหนดขอบเขต
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการโดยตรงซึ่งได้แก่สาธารณชนหรือผู้ที่ถูกผลกระทบจากโครงการ
3.การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ทรัพยากรด้านกายภาพ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯ
- ทรัพยากรด้านชีวภาพ เช่น สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในอากาศ น้ำ ดิน ฯ
- คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ได้แก่ การนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มมาตรฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ไฟฟ้า น้ำใช้ ฯ
- คุณค่าคุณภาพชีวิต ได้แก่ ตัวแปรซึ่งแสดงถึงดุยภาพระหว่างทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ตลอดจนทรัพยากรด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ฯ
3.2 การทำนายขนาดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
3.3 การประเมินผลกระทบ
3.4 การเสนอมาตรการป้องกันและลดผลกระทบและการติดตามตรวจสอบ
4.การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เพื่อเฝ้าดูว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นและได้ทำนายไว้อยู่ในระดับทีไ่ด้ทำนายไว้หรือไม่ มีการจัดการต่อผลกระทบด้านต่างๆ ตามมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
5. การประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อประเมินว่าโครงการเป็นไปตามที่คาดหวังที่ได้เสนอไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมและการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือไม่ เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ที่มา : ระบบ เครื่องมือและการจัดการความเสี่ยงสำหรับสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม (59711) หน่วยที่ 8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น