Advertising

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การวิจัยเชิงปริมาณในงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

1.แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปริมาณ
  • ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงปริมาณ หมายถึง การวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้และข้อเท็จจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบต่างๆ ตามกระบวนการและระเบียบวิธีในการวิจัย

ความสำคัญ
1) การอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ที่ศึกษาว่ามีลักษณะอย่างไร มีปัจจัยอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้อง
2) การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างทฤษฎีและกฎใหม่ๆ
3) การพัฒนาระบบ เทคโนโลยี และเครื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  1)การวิจัยเชิงสำรวจ    2) การวิจัยเชิงทดลอง

2. การวิจัยเชิงสำรวจ
  • ความหมาย  การวิจัยเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพการณ์และความสัมพันธ์ขอตัวแปร โดยเน้นที่การศึกษาถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะทำการศึกษามีการกำหนดกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยไม่มีการจัดกระทำกับตัวแปรศึกษา
  • รูปแบบ มี 3 ประเภท คือ 1)ใช้แบบสอบถาม 2)แบบสัมภาษณ์  3)แบบสังเกต
3. การวิจัยเชิงทดลองจริง
  •  ความหมาย การวิจัยที่มุ่งค้นหาความจริง เพื่อธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปร โดยสามารถควบคุมสภาพการณ์ต่างๆ ของการทดลองได้อย่างสมบูรณ์
  • ลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) มีการสุ่ม 2) มีการจัดทำกระทำ 3) มีการควบคุมเพื่อขจัดอิทธิของปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อพื้นฐานของหลักการ แนวคิด ทฤษฎี
4. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง
  • ความหมาย การวิจัยที่มุ่งค้นหาความจริงเพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรโดยมีการจัดกระทำกับตัแปรอิสระภายใต้เงื่อนไขของการวิจัยนั้น แล้วสังเกตหรือวัดผลการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยในงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

          การวิจัยทางสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม หมายถึง การศึกษาเพื่อให้ได้ข้อค้นพบในการนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิด'ของเสีย' หรือ 'มลพิษ' อันไม่พึงประสงค์และทำลายสุขภาพ เช่น กากอุตสาหกรรม น้ำเสีย ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยอาศัยหลักการสำคัญของการหาความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าการปล่อยให้มีมลพิษเกิดขึ้นแล้วจึงค่อยมาบำบัดทีหลัง

การวิจัยทางสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม จัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ
1. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นส่วนใหญ่ โดยออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา 
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นเป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้



วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การตรวจประเมิน(Audit)

มีประโยชน์อย่างไร?
  1. ตรวจประเมินเพื่อดูว่า องค์กรได้กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในด้านต่างๆไว้อย่างไร และมีการวางแผนระบบงานไว้หรือไม่ มีแนวทางการปฏิบัติไว้หรือไม่
  2. เพื่อตรวจประเมินดูว่า องค์กรได้นำแผนงานหรือระบบงานที่ได้วางไว้สู้การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  3. ตรวจประเมินดูว่า ผลลัพธ์ที่ได้ดีหรือไม่ บรรลุหรือไม่ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
ความแตกต่างระหว่าง Internal Audit และ External Audit

การตรวจติดตามภายใน (Internal Audit)
  • เป็นการดำเนินการโดยองค์กรหรือในนามขององค์กรเอง เพื่อทบทวนการจัดการและจุดมุ่งหมายภายในอื่นๆ และใช้เป็นพื้นฐานขององค์กรในกาประกาศว่าองค์กรได้ดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ความเป็นอิสระแสดงได้จากการที่ผู้ตรวจประเมินเป็นผู้ที่ไม่ได้มีความรับชอบในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้ไปตรวจประเมิน
การตรวจติดตามภายนอก (External Audit)
  • เป็นการตรวจประเมินโดยบุคคลที่สอง การตรวจประเมินโดยบุคคลที่สองดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย กับองค์กรนั้น เช่น ลูกค้าหรือบุคคลอื่นๆในนามของลูกค้า
  • การตรวจประเมินโดยบุคคลที่สามดำเนินการโดย บุคคลภายนอกหรือองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจประเมิน เช่น องค์กรที่จดทะเบียนหรือให้การรับรองที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ มอก.18001 มอก.9001 และมอก.14001 มักต้องมีการออกใบรับรองผลการตรวจประเมินด้วย

การประเมินการสัมผัสสารเคมีของผู้ปฏิบัติงาน

อาจเปรียบเทียบกับสูตรการประเมินประเมินความเสี่ยงสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไปของ US.EPA เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างของการประเมินกลุ่มบุคคลที่เป็นประชาชนทั่วไปและที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงงานซึ่งโดยทั่วทั่วไปจะทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน และอาจปฏิบัติงานหลายจุด จึงได้รับสัมผัสสารเคมีที่มีระดับความเข้มข้นในชั่วโมงการทำงานต่างๆ แตกต่างกัน

มีสูตรการประเมินดังนี้

TWA  =  C1T1+C2T2+...+CnTn
                  T1+T2+..+Tn

โดยที่ TWA คือ ค่าระดับการสัมผัสสารเคมีตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง
           C       คือ ค่าระดับความเข้มข้นของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส(หายใจ)
           T        คือ ค่าระยะเวลาที่สัมผัสสารเคมี

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

CSR ต่างจากการบริจาคอย่างไร?

CSR  คือ ความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจ และกิจกรรมที่ตนดำเนินการไปแล้วเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมความรับผิดชอบนี้ต้องการดำเนินการด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม

CSR ต่างจากการบริจาคอย่างไร ? 

CSR เป็นเรื่องของความรับผิดชอบของโรงงานต่อผลกระทบที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของตนที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ดังนั้น การทำกิจกรรมใดๆ แล้วมาสรุปว่าตนได้ทำ CSR นั้นก็ต้องพิจารณากิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการกำจัด จำกัด ลด  ควบคุมผลกระทบนั้นๆ หรือไม่ ถ้าใช่ จึงกล่าวได้ว่าโรงงานนั้นๆได้ทำ CSR แต่ถ้าช่วย อสม. ในขณะที่ยังปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ หรือช่วยชาวบ้าน แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น หรือทำแต่แจกผ้าห่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง โดยไม่ได้ทำกิจกรรมที่ควรทำ นี้ไม่ใช่การทำ CSR 

กิจกรรมที่เรียกเป็นการทำ CSR (ISO 26000)

  1. ธรรมาภิบาลขององค์กร
  2. สิทธิมนุษยชน
  3. การปฏิบัติต่อแรงงาน
  4. สิ่งแวดล้อม
  5. การปฏิบัติงานที่เป็นธรรม
  6. ประเด็นด้านผู้บริโภค
  7. การพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชน
โรงงานทำเพียงช่วยเหลือชาวบ้านให้มีอาชีพเสริม ให้ผ้าห่ม เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของ CSR เท่านั้น (CSR = รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจของตนเอง)
ซึ่งการทำ CSR เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ แต่โรงงานต้องไม่ลืมว่าการทำ CSR นั้นมุ่งให้ความสำคัญกับการผลิตของโรงงานที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และผู้บริโภค และคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะทำให้คนรุ่นต่อๆไป ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาตได้ไว้ใช้อย่างไม่ขัดสน

เป็นเพียงส่วนหนึ่งในมุมมองของปุ้ม.....

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดทำระบบต้องมีเอกสาร(Document) อะำไรบ้าง?

1. คู่มือการจัดการระบบ (Manual)
เป็นเอกสารที่อธิบายถึงเจตนารมณ์ของการทำระบบการจัดการ ของเขตการทำระบบ นโยบายขององค์กรณ์ โครงสร้างการบริหารงาน บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจของแต่ละส่วนงาน การมอบหมายการปฏิบัติขององค์กร ในการที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดแต่ละข้อของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และอ้างอิงถึงขั้นตอนการปฏิบัติ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของแต่ละข้อกำหนดนั้น

2. ระเบียบปฏิบัติ (Procedure)
เป็นวิธีการปฏิบัติเฉพาะด้านเพื่อการปฏิบัติกิจกรรมหรือกระบวนการ อาจจะเป็นหรือไม่เป็น Document ก็ได้ ซึ่งหมายถึงมาตรฐานการทำงานตามกระบวนการ หรือขั้นตอนการทำงานที่ต่อเนื่องกัน ที่องค์กรได้กำหนดขึ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ตามระบบการจัดการและนโยบายที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่นิยมเขียนเอกสารตามสิ่งที่กำหนดให้เป็นระเบียบปฏิบัติ ในแต่ละข้อกำหนดของระบบการจัดการ เช่น ระเบียบปฏิบัติ เรื่องการชี้บ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม

3. วิธีปฏิบัติ (Work Instruction)
เป็นวิธีการปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน หรือเป็นส่วนขยายความของบางกิจกรรมที่กำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการชี้วัดให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง เช่น วิธีปฏิบัติเรื่องการคัดแยกขยะ

4. เอกสารสนับสนุน (Supporting document)
เช่น แบบฟอร์มต่างๆ หรือคู่มือการใช้เครื่องจักร เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อกำหนด ISO 18001:2554

4.2  นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4.3  การวางแผน
       4.3.1  การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
       4.3.2  กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
       4.3.3  วัตถุประสงค์และแผนงาน

4.4  การนำไปใช้และการปฏิบัติ
       4.4.1  ทรัพยากร บทบาท อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ
       4.4.2  ความสามารถ ฝึกอบรม จิตสำนึก
       4.4.3  การสื่อสาร การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา
       4.4.4  เอกสาร
       4.4.5  การควบคุมเอกสาร
       4.4.6  การควบคุมการปฏิบัติงาน
       4.4.7  การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

4.5  การตรวจสอบและการแก้ไข
       4.5.1  การติดตามตรวจสอบและวัดผลการดำเนินการ
       4.5.2  การประเมินผลการปฏิบัติ
       4.5.3  การสอบสวนอุบัติการณ์ความไม่สอด การแก้และป้องกัน
       4.5.4  การจัดทำและเก็บบันทึก
       4.5.5  การตรวจประเมินภายใน

4.6  การทบทวนการจัดการ


       

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO 14001:2004

ข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

4.1  ข้อกำหนดทั่วไป

4.2  นโยบายสิ่งแวดล้อม

4.3  การวางแผน
       4.3.1 ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม
       4.3.2 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
       4.3.3 วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงาน

4.4  การดำเนินงาน และการปฏิบัติ
       4.4.1 ทรัพยาการ บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่
       4.4.2 ความสามารถ การฝึกอบรม และจิตสำนึก
       4.4.3 การสื่อสาร
       4.4.4 การควบคุมเอกสาร
       4.4.5 การควบคุมการปฏิบัติงาน
       4.4.6 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน

4.5  การตรวจสอบ
       4.5.1 การเฝ้าระวัง และการตรวจวัด
       4.5.2 การประเมินความสอดคล้อง
       4.5.3 สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การดำเนินการแก้ไขและป้องกัน
       4.5.4 การควบคุมบันทึก
       4.5.5 การตรวจติดตามภายใน

4.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร

By : NooPum

การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพสำหรับชุมชน

1. การชี้บ่งสารเคมีที่ต้องการประเมิน
   เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องชี้บ่งหรือระบุให้ได้ว่าสารเคมีใด คือสารที่ต้องการจะประเมินว่าประชาชนที่สัมผัสนั้นมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ถ้าไม่สามารถชี้บ่งได้ก็จะไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้ โดยทั่วไปการชี้บ่งว่าเป็นสารเคมีใดนั้นจะพิจารณาจากกระบวนการผลิต เช่น กิจการผลิตไฟฟ้า สารเคมีที่ฟุ้งในบรรยากาศ คือ NOx , SOx
   ในกรณีที่มีสารเคมีหลายชนิด แพร่กระจายในอากาศ น้ำ ดิน US.EPA แนะนำวิธีที่จะเลือกประเมินสารเคมี หลักการคือ เลือกสารเคมีที่มีความรุนแรงสูง มีการแพร่กระจายมาก มาเป็นเกณฑ์เลือก
   การประเมินการสัมผัสสารเคมีของประชาชน จะต้องพิจารณาทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีว่า สารเคมีที่กำลังจะประเมินนี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายทางใดได้บ้าง (ทางจมูก,ทางปาก,ทางผิวหนัง) เมื่อทราบแล้วก็ใช้สูตรการประเมินที่สัมพันธ์กับทางเข้าสู่ร่างกายนั้นๆ

**ยกตัวอย่างเช่น โรงงานได้ระบายแคดเมียมทางอากาศ และปล่อยมาทางน้ำเสียที่ระบายสู่แม่น้ำ เมื่อพิจารณาทางเข้าสู่ร่างกายแล้วพบว่า มี 3 ทาง คือ
  1. ทางหายใจ โดยหายใจเอาแคดเมียมที่ปนเปื้อนในอากาศเข้าสู่ร่างกาย
  2. ทางกิน  โดยกินอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียม เช่น ผัก (ปลูกในดินที่แคดเมียมปนเปื้อน) ปลา (อาศัยในแม่น้ำที่มีแคดเมียมปนเปื้อน) หรือน้ำดื่มที่มีแคดเมียมปนเปื้อน
  3. ทางผิวหนัง  โดยการดูดซึมผ่านทางน้ำใช้ (อาบน้ำ) หรือดิน (ทำสวน ปลูกต้นไม้)
ดังนั้นเมื่อประเมินทางเข้าสู่ร่างกายได้เช่นนี้ ต้องใช้สูตรคำนวณปริมาณสารเคมีที่จะเข้าสู่ร่างกาย (เรียกปริมาณสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกายว่า In take dose)  ทั้ง 3 ทาง

2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย และตอบสนองของร่างกาย
ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาว่าเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีแล้ว (ในปริมาณต่างๆ) ร่างกายจะตอบสนองอะไรบ้าง เช่น ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ก็จะไม่มีการตอบสนองใดๆ แต่เมื่อมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายก็จะเริ่มปรากฎอาการต่างๆ จนในที่สุดก็ถึงขั้นเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ ตรงนี้จะทำให้สามารถกำหนดค่ามาตรฐานการสัมผัสสารเคมีนั้นๆได้

3. การประเมินการสัมผัส
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินแล้วว่าสารเคมีที่ประชาชนได้รับ (ทางหายใจ,ทางกิน,ทางผิวหนัง) จะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด การประเมินนี้ต้องมีการใช้สูตรคำนวณซึ่งแยกเป็นสูตรการสัมผัส
**กรณีของการประเมินการสัมผัสสารเคมีีของคนทำงานในโรงงาน จะมีสูตรที่แตกต่างไปจาก กรณีของการประเมินการสัมผัสสารเคมีของประชาชนทั่วไป**

4. การอธิบายความเสี่ยง

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปะเมินความเสี่ยงต้่อสุขภาพของประชาชนที่สัมผัสสารเคมี เราต้องนำผลการคำนวณในขั้นตอนที่ 2 มาใช้ เพื่อสรุป/อธิบาย ว่าตกลงประชาชนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่มาจากโรงงานหรือไม่

การอธิบายความเสี่ยงมี 2 ลักษณะ
  1. ความเสี่ยงของสารเคมีที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง
  2. ความเสี่ยงของสารเคมีที่ไม่ก่อมะเร็ง

 
 By : NooPum



วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยกำหนดสุขภาพของ (สช.) และ (สผ.)

  1. การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรแร่ธาต ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ และระบบนิเวศ
  2. การผลิต ขนส่ง และการจัดเก็บวัตถุอันตราย  โดยจะต้องแจ้งประเภท ปริมาณ และวิธีการ ดำเนินการของวัตถุอันตรายทุกชนิด
  3. การกำเนิดและการปล่อยของเสียและสิ่งคุกคามสุขภาพ  จากการก่อสร้าง กระบวนการผลิต และกระบวนการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นขยะ กากของเสีย การของเสียอันตราย นำเสีย ขยะติดเชื้อ ความร้อน มลสารทางอากาศ ฝุ่น แสง เสียง กลิ่น การสั่นสะเทือน และกัมมัตภาพรังสี
  4. การรับสัมผัสต่อมลพิษและสิ่งคุกคามสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย เช่น โดยการหายใจ การรับประทาน การสัมผัสทางผิวหนัง เป็นต้น
  5. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่ออาชีพ  การจ้างงาน และสภาพการทำงานในท้องถิ่น ทั้งทางบวกและทางลบ เช่น ความเสี่ยงและอุบัติเหตุจากการทำงาน การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ 
  6. การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของประชาชนและชุมชน  ทั้งความสัมพันธ์ภายในชุมชน และภายนอกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพของประชาชนและแรงงาน จากการเพิ่ม/ลดพื้นที่สาธารณะของชุมชน
  7. การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่มีความสำคัญและมรดกทางศิลปวัฒนธรรม  เช่น ศาสนสถาน สถานที่ที่ประชาชนสักการะบูชา หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชุมท้องถิ่น พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
  8. ผลกระทบที่เฉพาะเจาะจง  หรือมีความรุนแรงเป็นพิเศษต่อประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ
  9. ทรัพยากรและความพร้อมของภาคสาธารณสุข ทั้งในแง่ของการสร้างเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับโครงการ/กิจกรรม รวมถึงความพร้อมของข้อมูงสถานะสุขภาพในพื้นที่ก่อนการดำเนินการ ขีดความสามารถการสำรวจโรค และการรับมือกับอุบัติภัยและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น
ที่มา : ชุดวิชา 59711  หน่วยที่ 9
โดย : จป.ปุ้ม

แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอุตสาหกรรม

1. ทรัพยากรด้านกายภาพ
  1. คุณภาพอากาศ  ต้องกำหนดพื้นที่ศึกษา รวมทั้งชนิดและปริมาณขอสารมลพิษที่ปล่ิอยออกสู่บรรยากาศจากปล่องของโรงงาน ตลอดจนการกรอง หรือขนถ่ายสินค้า และวัตถุดิบ แสดงให้เห็นถึงลักษณะการกระจายตัว ปริมาณสารมลพิษ ทิศทาง แหล่งที่ตั้งของชุมชน ว่าจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดโดยการการประเมินในเชิงปริมาณ เช่น การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  2. เสียง  ประเมินว่ากิจกรรมของการก่อสร้างและะดำเนินการจะมีผลให้ระดับเสียงในบริเวณพื้นที่โครงการ และชุมชนใกล้เคียงเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร
  3. กากของเสียและขยะมูลฝอย  ประเมินผลกระทบด้านกากของเสียและขยะมูลฝอย โดยใช้ข้อมูลชนิด ปริมาณ ลักษณะ หรือองค์ประกอบของกากของเสียหรือขยะมูลฝอยทุกประเภทจากโครงการ
  4. ทรัพยากรน้ำ  ทำการประเมินทรัพยากรน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน ทั้งระยะก่อสร้างและระยะดำเนินโครงการ
  5. ทรัพยากรดิน  ประเมินผลจากการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการกากของเสียต่อคุณภาพดิน
 2. ทรัพยากรด้านชีวภาพ
ประเมินการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่จะมีผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยและวงจรของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศนั้นๆ โดยเฉพาะบริเวณที่มีผลต่อกลุ่มสัตว์ และพืชพรรณหายาก และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตลอดจนประเมินผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อันเนื่องจากกิจกรรมโครงการ ต่อการสูญเสียหรือทำลายหรือเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ

3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
  1. การใช้ที่ดิน  ประเมินผลกระทบของการมีโครงการ ที่อาจมีต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดิน การใช้ที่ดินในบริเวณใกล้เคียง
  2. การคมนาคมขนส่ง ประเมินผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการขนส่งของโครงการ ว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความหนาแน่นของการจราจรเดิมหรือไม่
  3. การใช้น้ำ  ประเมินผลกระทบที่เกิดจากการใช้ของโครงการที่อาจส่งผลการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำ
  4. พลังงานและไฟฟ้า  ประเมินผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลังงาน และไฟฟ้าของโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพการใช้พลังงานและไฟฟ้าของชุมชนรวม
  5. การระบายน้ำและควบคุมน้ำท่วม  วิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากโครงการทั้งในด้านการถมปรับพื้นที่โครงการ การระบายน้ำจากกระบวนกระผลิต ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง การอุดตัน ทางระบายน้ำเดิมของชุมชน
  6. การเกษตร  ประเมินผลกระทบจากโครงการโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางน้ำที่จะส่งผลต่อพื้นที่ และกิจกรรมทางด้านการเกษตร
4. คุณค่าคุณภาพชีวิต
  1. สังคมเศรษฐกิจ  ประเมินผลกระทบจากโครงการที่มีต่อการเปลี่ยนสภาพสังคม เศรษฐกิจของชุมชนในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
  2. สุนทรียภาพ  ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการต่อแหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
  3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ประเมินผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนงานในการทำงานจากลักษณของอันตรายในสถานที่ทำงาน และประเมินความเพียงพอของระบบการออกแบบทางวิศกรรมที่ช่วยลด และป้องกันแก้ไขอาชีวอนามัย
ที่มา : ชุดวิชา 59711 หน่วยที่ 8

หาทางให้ตัวเอง..

     ตอนนี้ใกล้สอบเข้ามาทุกทีแล้ว....27/10/55 ชี้ชะตาว่าเราจะเหมาะกับการเรียนหรือไม่ หรือตั้งใจทำงาน จป เพียงอย่างเดียว อ้อ..ตอนนี้ปุ้ม ป.โท เอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ที่ มสธ. ปี 1 เลือกเรียนที่นี่เพราะ เหมาะสำหรับคนทำงานอย่างปุ้ม เพราะที่อื่นไม่เปิดเรียน ซึ่งจากการสัมผัสมันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บางคนกำัลังจะตัดสินใจเรียนต่อ เรียนที่ มสธ. ก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากมีความรู้ หรือเพื่อได้ใบประกาศเพิ่มอีก 1 ใบ ...ปุ้มยัง งงๆ กะตัวเองเหมือนกันว่า ชีวิตจะเดินทางไหนดี ...
   ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และ ความปลอดภัย มาก็นานอยากทำงานอย่างอื่น กะเค้าบ้าง บางทีก็เบื่อๆ
อยากทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หลายคนก็คงเป็นเหมือนกะเรา
   ซึ่ง คำว่า เบื่อ...อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทำให้ลาออกจากงาน เพื่อไปหาสิ่งที่ตื่นเต้น เร้าใจต่อไป
ตอนนี้ยังหาทางให้ตัวเองยังไม่เจอเลย แต่คาดว่า ปี 2556 คงมีอะไรที่เปลี่ยนไปจากเดิม..

.......**


ขั้นตอนการดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. การกลั่นกรองโครงการ
เป็นกรบวนการเพื่อตัดสินใจว่า โครงการที่ต้องพัฒนานั้น จำเป็นต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่
  • การใช้ดุลพินิจของผู้มีอำนาจตัดสินใจ
  • การกำหนดรายชื่อโครงที่เข้าข่าย
  • การกำหนดราื่ยชื่อโครงการที่ไม่เข้าข่าย
  • การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
2.การกำหนดขอบเขต
เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการโดยตรงซึ่งได้แก่สาธารณชนหรือผู้ที่ถูกผลกระทบจากโครงการ

3.การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อ

3.1 การจำแนกชนิดของผลกระทบ 4 กลุ่ม
  • ทรัพยากรด้านกายภาพ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ฯ
  • ทรัพยากรด้านชีวภาพ เช่น สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในอากาศ น้ำ ดิน ฯ
  • คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ได้แก่ การนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม  และเพิ่มมาตรฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ไฟฟ้า น้ำใช้ ฯ
  • คุณค่าคุณภาพชีวิต ได้แก่ ตัวแปรซึ่งแสดงถึงดุยภาพระหว่างทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ตลอดจนทรัพยากรด้าน ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ฯ
3.2 การทำนายขนาดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
3.3 การประเมินผลกระทบ
3.4 การเสนอมาตรการป้องกันและลดผลกระทบและการติดตามตรวจสอบ

4.การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เพื่อเฝ้าดูว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นและได้ทำนายไว้อยู่ในระดับทีไ่ด้ทำนายไว้หรือไม่ มีการจัดการต่อผลกระทบด้านต่างๆ ตามมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

5. การประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อประเมินว่าโครงการเป็นไปตามที่คาดหวังที่ได้เสนอไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมและการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือไม่ เพื่อนำมาปรับปรุงมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ที่มา : ระบบ เครื่องมือและการจัดการความเสี่ยงสำหรับสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม (59711)  หน่วยที่ 8