Advertising

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การวิจัยเชิงปริมาณในงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

1.แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปริมาณ
  • ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของการวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงปริมาณ หมายถึง การวิจัยที่มุ่งค้นหาความรู้และข้อเท็จจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบต่างๆ ตามกระบวนการและระเบียบวิธีในการวิจัย

ความสำคัญ
1) การอธิบายและทำนายปรากฏการณ์ที่ศึกษาว่ามีลักษณะอย่างไร มีปัจจัยอะไรที่น่าจะเกี่ยวข้อง
2) การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างทฤษฎีและกฎใหม่ๆ
3) การพัฒนาระบบ เทคโนโลยี และเครื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  1)การวิจัยเชิงสำรวจ    2) การวิจัยเชิงทดลอง

2. การวิจัยเชิงสำรวจ
  • ความหมาย  การวิจัยเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพการณ์และความสัมพันธ์ขอตัวแปร โดยเน้นที่การศึกษาถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะทำการศึกษามีการกำหนดกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยไม่มีการจัดกระทำกับตัวแปรศึกษา
  • รูปแบบ มี 3 ประเภท คือ 1)ใช้แบบสอบถาม 2)แบบสัมภาษณ์  3)แบบสังเกต
3. การวิจัยเชิงทดลองจริง
  •  ความหมาย การวิจัยที่มุ่งค้นหาความจริง เพื่อธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปร โดยสามารถควบคุมสภาพการณ์ต่างๆ ของการทดลองได้อย่างสมบูรณ์
  • ลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) มีการสุ่ม 2) มีการจัดทำกระทำ 3) มีการควบคุมเพื่อขจัดอิทธิของปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อพื้นฐานของหลักการ แนวคิด ทฤษฎี
4. การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง
  • ความหมาย การวิจัยที่มุ่งค้นหาความจริงเพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรโดยมีการจัดกระทำกับตัแปรอิสระภายใต้เงื่อนไขของการวิจัยนั้น แล้วสังเกตหรือวัดผลการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม

 

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยในงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม

          การวิจัยทางสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม หมายถึง การศึกษาเพื่อให้ได้ข้อค้นพบในการนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิด'ของเสีย' หรือ 'มลพิษ' อันไม่พึงประสงค์และทำลายสุขภาพ เช่น กากอุตสาหกรรม น้ำเสีย ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยอาศัยหลักการสำคัญของการหาความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงและลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่าการปล่อยให้มีมลพิษเกิดขึ้นแล้วจึงค่อยมาบำบัดทีหลัง

การวิจัยทางสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม จัดทำได้ 2 รูปแบบ คือ
1. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นส่วนใหญ่ โดยออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา 
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นเป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้



วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การตรวจประเมิน(Audit)

มีประโยชน์อย่างไร?
  1. ตรวจประเมินเพื่อดูว่า องค์กรได้กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในด้านต่างๆไว้อย่างไร และมีการวางแผนระบบงานไว้หรือไม่ มีแนวทางการปฏิบัติไว้หรือไม่
  2. เพื่อตรวจประเมินดูว่า องค์กรได้นำแผนงานหรือระบบงานที่ได้วางไว้สู้การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  3. ตรวจประเมินดูว่า ผลลัพธ์ที่ได้ดีหรือไม่ บรรลุหรือไม่ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
ความแตกต่างระหว่าง Internal Audit และ External Audit

การตรวจติดตามภายใน (Internal Audit)
  • เป็นการดำเนินการโดยองค์กรหรือในนามขององค์กรเอง เพื่อทบทวนการจัดการและจุดมุ่งหมายภายในอื่นๆ และใช้เป็นพื้นฐานขององค์กรในกาประกาศว่าองค์กรได้ดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ความเป็นอิสระแสดงได้จากการที่ผู้ตรวจประเมินเป็นผู้ที่ไม่ได้มีความรับชอบในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้ไปตรวจประเมิน
การตรวจติดตามภายนอก (External Audit)
  • เป็นการตรวจประเมินโดยบุคคลที่สอง การตรวจประเมินโดยบุคคลที่สองดำเนินการโดยหน่วยงานที่มีส่วนได้เสีย กับองค์กรนั้น เช่น ลูกค้าหรือบุคคลอื่นๆในนามของลูกค้า
  • การตรวจประเมินโดยบุคคลที่สามดำเนินการโดย บุคคลภายนอกหรือองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจประเมิน เช่น องค์กรที่จดทะเบียนหรือให้การรับรองที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ มอก.18001 มอก.9001 และมอก.14001 มักต้องมีการออกใบรับรองผลการตรวจประเมินด้วย

การประเมินการสัมผัสสารเคมีของผู้ปฏิบัติงาน

อาจเปรียบเทียบกับสูตรการประเมินประเมินความเสี่ยงสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไปของ US.EPA เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างของการประเมินกลุ่มบุคคลที่เป็นประชาชนทั่วไปและที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงงานซึ่งโดยทั่วทั่วไปจะทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน และอาจปฏิบัติงานหลายจุด จึงได้รับสัมผัสสารเคมีที่มีระดับความเข้มข้นในชั่วโมงการทำงานต่างๆ แตกต่างกัน

มีสูตรการประเมินดังนี้

TWA  =  C1T1+C2T2+...+CnTn
                  T1+T2+..+Tn

โดยที่ TWA คือ ค่าระดับการสัมผัสสารเคมีตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง
           C       คือ ค่าระดับความเข้มข้นของสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส(หายใจ)
           T        คือ ค่าระยะเวลาที่สัมผัสสารเคมี

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

CSR ต่างจากการบริจาคอย่างไร?

CSR  คือ ความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจ และกิจกรรมที่ตนดำเนินการไปแล้วเกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมความรับผิดชอบนี้ต้องการดำเนินการด้วยความโปร่งใสและมีจริยธรรม

CSR ต่างจากการบริจาคอย่างไร ? 

CSR เป็นเรื่องของความรับผิดชอบของโรงงานต่อผลกระทบที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของตนที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ดังนั้น การทำกิจกรรมใดๆ แล้วมาสรุปว่าตนได้ทำ CSR นั้นก็ต้องพิจารณากิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการกำจัด จำกัด ลด  ควบคุมผลกระทบนั้นๆ หรือไม่ ถ้าใช่ จึงกล่าวได้ว่าโรงงานนั้นๆได้ทำ CSR แต่ถ้าช่วย อสม. ในขณะที่ยังปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ หรือช่วยชาวบ้าน แต่ไม่ได้แก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น หรือทำแต่แจกผ้าห่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง โดยไม่ได้ทำกิจกรรมที่ควรทำ นี้ไม่ใช่การทำ CSR 

กิจกรรมที่เรียกเป็นการทำ CSR (ISO 26000)

  1. ธรรมาภิบาลขององค์กร
  2. สิทธิมนุษยชน
  3. การปฏิบัติต่อแรงงาน
  4. สิ่งแวดล้อม
  5. การปฏิบัติงานที่เป็นธรรม
  6. ประเด็นด้านผู้บริโภค
  7. การพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชน
โรงงานทำเพียงช่วยเหลือชาวบ้านให้มีอาชีพเสริม ให้ผ้าห่ม เป็นเพียงเสี้ยวเดียวของ CSR เท่านั้น (CSR = รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจของตนเอง)
ซึ่งการทำ CSR เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ แต่โรงงานต้องไม่ลืมว่าการทำ CSR นั้นมุ่งให้ความสำคัญกับการผลิตของโรงงานที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และผู้บริโภค และคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะทำให้คนรุ่นต่อๆไป ยังคงมีทรัพยากรธรรมชาตได้ไว้ใช้อย่างไม่ขัดสน

เป็นเพียงส่วนหนึ่งในมุมมองของปุ้ม.....

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การจัดทำระบบต้องมีเอกสาร(Document) อะำไรบ้าง?

1. คู่มือการจัดการระบบ (Manual)
เป็นเอกสารที่อธิบายถึงเจตนารมณ์ของการทำระบบการจัดการ ของเขตการทำระบบ นโยบายขององค์กรณ์ โครงสร้างการบริหารงาน บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจของแต่ละส่วนงาน การมอบหมายการปฏิบัติขององค์กร ในการที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดแต่ละข้อของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และอ้างอิงถึงขั้นตอนการปฏิบัติ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของแต่ละข้อกำหนดนั้น

2. ระเบียบปฏิบัติ (Procedure)
เป็นวิธีการปฏิบัติเฉพาะด้านเพื่อการปฏิบัติกิจกรรมหรือกระบวนการ อาจจะเป็นหรือไม่เป็น Document ก็ได้ ซึ่งหมายถึงมาตรฐานการทำงานตามกระบวนการ หรือขั้นตอนการทำงานที่ต่อเนื่องกัน ที่องค์กรได้กำหนดขึ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ตามระบบการจัดการและนโยบายที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่นิยมเขียนเอกสารตามสิ่งที่กำหนดให้เป็นระเบียบปฏิบัติ ในแต่ละข้อกำหนดของระบบการจัดการ เช่น ระเบียบปฏิบัติ เรื่องการชี้บ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม

3. วิธีปฏิบัติ (Work Instruction)
เป็นวิธีการปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน หรือเป็นส่วนขยายความของบางกิจกรรมที่กำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการชี้วัดให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง เช่น วิธีปฏิบัติเรื่องการคัดแยกขยะ

4. เอกสารสนับสนุน (Supporting document)
เช่น แบบฟอร์มต่างๆ หรือคู่มือการใช้เครื่องจักร เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อกำหนด ISO 18001:2554

4.2  นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

4.3  การวางแผน
       4.3.1  การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
       4.3.2  กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
       4.3.3  วัตถุประสงค์และแผนงาน

4.4  การนำไปใช้และการปฏิบัติ
       4.4.1  ทรัพยากร บทบาท อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ
       4.4.2  ความสามารถ ฝึกอบรม จิตสำนึก
       4.4.3  การสื่อสาร การมีส่วนร่วม การให้คำปรึกษา
       4.4.4  เอกสาร
       4.4.5  การควบคุมเอกสาร
       4.4.6  การควบคุมการปฏิบัติงาน
       4.4.7  การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

4.5  การตรวจสอบและการแก้ไข
       4.5.1  การติดตามตรวจสอบและวัดผลการดำเนินการ
       4.5.2  การประเมินผลการปฏิบัติ
       4.5.3  การสอบสวนอุบัติการณ์ความไม่สอด การแก้และป้องกัน
       4.5.4  การจัดทำและเก็บบันทึก
       4.5.5  การตรวจประเมินภายใน

4.6  การทบทวนการจัดการ