Advertising

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รีไซเคิล คือทางออกของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก จริงหรือ?

 

 

ชื่อไหมว่า ปัจจุบันในทะเลมีขยะพลาสติกลอยเกลื่อนอยู่มากกว่าแพลงก์ตอนถึง 6 เท่า!!!

แม้หลายคนอาจเชื่อว่า การรีไซเคิลคือหนึ่งในทางออกของการแก้ปัญหาขยะพลาสติกจำนวนมากที่มีอยู่บน โลก ด้วยวิธีการแปรสภาพ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่   
แต่การรีไซเคิลก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดั่งใจคิด ด้วยต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ หลายขั้นตอน  ดังที่โรงงานรีไซเคิล Ecostarในรัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดให้เข้าชมกระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติก
นั่นเองจึงทำให้พบว่า กว่าขวดพลาสติกเหลือใช้จะถูกแปรสภาพจนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก รวมถึงต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ทั้งพลังงานไฟฟ้า น้ำ และแรงงานคน อีกทั้งหลายครั้งพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลคุณภาพก็จะต่ำและไม่สามารถนำกลับ มาใช้บรรจุอาหารได้อีก
หลายคนอาจสงสัย หากเป็นเช่นนี้เราควรออกมาต่อต้าน การรีไซเคิลหรือเปล่า ? ...ซึ่งไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะการรีไซเคิลคือตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ขยะพลาสติกไม่ต้องถูกฝังกลบ และยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร อันนำไปสู่ปลายทางที่เราจะอยู่อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับว่า การรีไซเคิลเป็นผลพวงของการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้การรีไซเคิลเป็นกระแสที่ได้รับการพูด ถึงมากขึ้น นั่นเพราะด้วยกระบวนการแปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่นี้ ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนิสัยการบริโภค ทุกคนยังสามารถจับจ่ายใช้สอยสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการ ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธการใช้ถุงหรือขวดพลาสติก เพราะหากสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นขยะ ต้องทิ้ง ส่วนที่เหลือนั้นก็จะกลายเป็นหน้าที่ของการรีไซเคิล หลายคนเข้าใจว่าการกระทำเช่นนี้เท่ากับการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรายังคงต้องต่อสู้กับปัญหาขยะพลาสติก ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างก็รู้ว่าขยะเหล่านี้เป็นส่วนทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างมลพิษทั้งในระหว่างกระบวนการผลิต ไปจนถึงการกำจัด
แท้จริงแล้วการรีไซเคิลควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่นำมาใช้ควมคุมการบริโภคของมนุษย์ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง
และควรแทนที่ด้วยวิถีลดการใช้ (Reduce)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse)ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ แล้วนำมาปฏิบัติมากกว่า
ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิต พลาสติกมากถึง 40 ล้านตัน/ปี
และหากการผลิตพลาสติก ยังดำเนินต่อไปเช่นนี้ อีก 100 ปีข้างหน้า ทั้งโลกจะมีพลาสติกมากกว่า 4,000 ล้านตัน (40 ล้านตัน x100 ปี)
ถึงวันนั้น ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้พลังงานมากแค่ไหนในการรีไซเคิลขยะพลาสติก หรือโลกใบนี้จะยังมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการฝังกลบขยะพลาสติกเหล่านั้นหรือ ไม่...



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น