Advertising

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เมืองกินป่า น้ำกินเมือง


หน้าฝนเดินทางมาถึงอีกครั้ง และยังไม่มีใครรู้ว่าฝนคราวนี้จะพาน้ำท่วมกลับมาอีกด้วยหรือไม่ ก่อนจะป้องกันปัญหาระยะสั้นอย่างก่ออิฐ ยกพื้น ย้ายของขึ้นที่สูง ฯลฯ เราอยากให้คุณดูข้อมูลที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน
งานวิจัยจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร หัวข้อ “หลักฐานทั่วโลกที่พิสูจน์ความสัมพันธ์ของจำนวนป่าไม้กับโอกาสและความรุนแรง ของอุทกภัยในประเทศกำลังพัฒนา” เก็บข้อมูลเป็นเวลา 10 ปี จาก 56 ประเทศ อาศัยข้อมูลการเกิดอุทกภัย ระยะเวลา และจำนวนป่าไม้ ทำให้ได้ข้อสรุปเป็นทางคณิตศาสตร์และอธิบายผลกระทบของการตัดไม้ทำลายป่าได้
ข้อสรุปที่สำคัญของการศึกษานี้บอกว่า จำนวนป่าไม้ที่ลดลง 10% ส่งผลให้ความถี่ของอุทกภัยเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 28%
และยังเพิ่มระยะเวลาที่เกิดอุทกภัยจาก 4% เป็น 8% ด้วย

นอกจากนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าวได้ถูกนำมาเสนอเป็นข้อมูลรูปภาพ (infographic) ของประเทศไทยโดยบริษัท Architectkidd



วัน เวลา กับป่าไม้
จำนวนป่าไม้ที่ลดลงอย่างมากในประเทศไทยตลอดระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ. 2513-2533)



ป่าโอบอุ้มน้ำ
ผืนดินที่มีต้นไม้อยู่จะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ถึง 50% ระเหยไป 40% และมีน้ำไหลบนพื้นดินเพียง 10% ในขณะที่พื้นที่เมืองมีน้ำซึมลงใต้ดิน 15% ระเหย 30% และมีน้ำไหลบนพื้นดินถึง 55%



ป่าและประชากร
กราฟแสดงจำนวนประชากรประเทศไทยและจำนวนป่าไม้ที่แปรผกผันอย่างเห็นได้ชัด น่าคิดต่อว่าวันที่จำนวนป่าไม้ลดเหลือศูนย์ เราจะมีชีวิตอยู่กันได้อย่างไร


เมืองกลืนกินป่า
ในอดีต เราสูญเสียป่าไม้จากการใช้ประโยชน์จากไม้และการทำเกษตร แต่ในวันนี้ ความเจริญเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยหลัก กรุงเทพมหานครขยายพื้นที่ความเจริญขึ้น 16 เท่า จาก 5.8 ตารางกิโลเมตรในปี 1850 เป็น 1,335 ตารางกิโลเมตรในปี 2002 คิดเป็นอัตราการเติบโต 4.8% ต่อปี



ที่มา : http://www.architectkidd.com/index.php/2012/03/deforestation-increases-f...
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-2486.2007.01446.x/abstract;jsessionid=74B18919E464756470C1C067CC4A4933.d02t01

รีไซเคิล คือทางออกของการแก้ปัญหาขยะพลาสติก จริงหรือ?

 

 

ชื่อไหมว่า ปัจจุบันในทะเลมีขยะพลาสติกลอยเกลื่อนอยู่มากกว่าแพลงก์ตอนถึง 6 เท่า!!!

แม้หลายคนอาจเชื่อว่า การรีไซเคิลคือหนึ่งในทางออกของการแก้ปัญหาขยะพลาสติกจำนวนมากที่มีอยู่บน โลก ด้วยวิธีการแปรสภาพ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่   
แต่การรีไซเคิลก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดั่งใจคิด ด้วยต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ หลายขั้นตอน  ดังที่โรงงานรีไซเคิล Ecostarในรัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดให้เข้าชมกระบวนการรีไซเคิลขวดพลาสติก
นั่นเองจึงทำให้พบว่า กว่าขวดพลาสติกเหลือใช้จะถูกแปรสภาพจนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง นั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก รวมถึงต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ทั้งพลังงานไฟฟ้า น้ำ และแรงงานคน อีกทั้งหลายครั้งพลาสติกที่ผ่านการรีไซเคิลคุณภาพก็จะต่ำและไม่สามารถนำกลับ มาใช้บรรจุอาหารได้อีก
หลายคนอาจสงสัย หากเป็นเช่นนี้เราควรออกมาต่อต้าน การรีไซเคิลหรือเปล่า ? ...ซึ่งไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะการรีไซเคิลคือตัวช่วยสำคัญ ที่ทำให้ขยะพลาสติกไม่ต้องถูกฝังกลบ และยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร อันนำไปสู่ปลายทางที่เราจะอยู่อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับว่า การรีไซเคิลเป็นผลพวงของการบริโภคแบบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้การรีไซเคิลเป็นกระแสที่ได้รับการพูด ถึงมากขึ้น นั่นเพราะด้วยกระบวนการแปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่นี้ ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนิสัยการบริโภค ทุกคนยังสามารถจับจ่ายใช้สอยสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการ ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธการใช้ถุงหรือขวดพลาสติก เพราะหากสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นขยะ ต้องทิ้ง ส่วนที่เหลือนั้นก็จะกลายเป็นหน้าที่ของการรีไซเคิล หลายคนเข้าใจว่าการกระทำเช่นนี้เท่ากับการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรายังคงต้องต่อสู้กับปัญหาขยะพลาสติก ทั้งๆ ที่ทุกคนต่างก็รู้ว่าขยะเหล่านี้เป็นส่วนทำลายสิ่งแวดล้อม สร้างมลพิษทั้งในระหว่างกระบวนการผลิต ไปจนถึงการกำจัด
แท้จริงแล้วการรีไซเคิลควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่นำมาใช้ควมคุมการบริโภคของมนุษย์ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง
และควรแทนที่ด้วยวิถีลดการใช้ (Reduce)และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse)ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสนใจ แล้วนำมาปฏิบัติมากกว่า
ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิต พลาสติกมากถึง 40 ล้านตัน/ปี
และหากการผลิตพลาสติก ยังดำเนินต่อไปเช่นนี้ อีก 100 ปีข้างหน้า ทั้งโลกจะมีพลาสติกมากกว่า 4,000 ล้านตัน (40 ล้านตัน x100 ปี)
ถึงวันนั้น ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้พลังงานมากแค่ไหนในการรีไซเคิลขยะพลาสติก หรือโลกใบนี้จะยังมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการฝังกลบขยะพลาสติกเหล่านั้นหรือ ไม่...



 

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขอระบายในหน้าที่ จป.

เรื่องไม่เป็นเรื่อง แต่คิดแล้วหงุดหงิด..
ทำงานเป็น จป.ต้องรับแรงกระแทกแรงๆ ง่ายๆคือ ใครด่าเราเราต้องโต้้แบบนิ่มๆ แต่มันใช่ จป.ปุ้ม ใครแรงมาก็แรง แรงไป เรื่องมันมีอยู่ว่า ที่โรงงานไม่มีรถฉุกเฉิน เวลาเกิดอุบัติเหตุ มีแต่รถโรงพยาบาลเท่านั้น จป.ก็ขับรถไม่เป็นซ่ะด้วย มีพนักงานอยู่รายนึง เหล็กกระแทกตา ตาอับเสบต้องไปโรงพยาบาล จริงๆแล้ว หัวหน้าต้องรับชอบสิ หน่วยงานของคุณ คนของคุณ หัวหน้าไม่ไปส่ง พนักงานก็ลังเล อยากกลับบ้านเลย(ขับมอไซ) เวรกรรมมตกอยู่ที่ จป ต้องไปนั่งแท๊กซี่พาพนักงานไปส่งโรงพยาบาล แล้วไงต่อ จป.ก็ต้องนั่งรอซ่ะ 5 ชั่วโมง กลับมาถึงโรงงานก็ดึกดื่น แถมยังไม่ได้โออีกต่างหาก ทำงานเพื่ออะไรว่ะเนี่ย สุดท้าย ท้ายสุด ที่เจ็บใจคือ หัวหน้างานมาด่า บอกว่า จป.ไม่ไปส่งพนักงานของเค้า อยากด่ากลับไป ว่า ชั้นนั่งรอพนักงานคุณตรวจเสร็จ คุณเคยคิดจะมานั่งรอหรือป่าว นึกในฝันว่า อยากออกจากโรงงานนี้อีกแล้ววว...

จป. ที่อื่นเค้าต้องไปส่งพนักงานอย่างที่นี่หรือป่าวเนี่ย
ส่งคำตอบมาปลอบใจกันบ้างน่ะค่ะ .....