Advertising

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรื่องเกิดจาก...ปลอกแขน

ใครที่เป็น จป. คงเจอเรื่อง การที่พนักงานไม่ชอบใส่ PPE หรือบางคนใส่ต่อหน้าเราเท่านั้น..ซึ่งไม่แปลก เพราะ คนเราไม่ชอบทำตามคำสั่ง หรือบังคับให้ทำ อย่าง ปุ้มเพิ่งจะเจอมา ต้องบอกก่อนว่า ปุ้มทำงาน โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานที่ดูแลมีส่วนงานหนึ่งที่มีปัญหาเรื่อง อาการคัน ผื่นขึ้นตามตัว เกิดอาการแพ้ เมื่อปฏิบัติงานในส่วนนี้ คนแพ้เยอะมากๆ แล้วลาออกก็เยอะเช่นกัน เพราะทนไม่ได้ ก่อนหน้านี้พนักงานใส่ปลอกแขนตามท้องตลาด ที่เหมือนแม่ค้าเค้าใส่กัน มันจะไม่คันได้ไง ก็มันเป็นผ้าเศษวัตถุดิบก็ติดปลอกแขนคันกันถ้วนหน้าสิคับ..ปุ้มเลยลองให้เค้าเปลี่ยนเป็นปลอกแขนผ้าดิบ มันลดอาการคันได้ แถมกันฝุ่นได้อีก แต่ก็อย่างว่า พนักงานไม่ชอบใส่ เพราะไม่สวย เห้อๆๆ เหนื่อยใจ ก็เลยต้องใช้ระบบ บังคับกันต่อไป..

ถ้าจป.ท่านใดที่ได้อ่าน ก็ลองแชร์ ประสบการณ์ กันบ้างน่ะค่ะ ^^




www.safetyppe.com

โปสเตอร์: วิธีการใช้รถยก (Fork lift) อย่างปลอดภัย







วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้สอบผู้ควบคุมมลพิษอากาศ_3

บทที่ ๓ เทคโนโลยีการเผาไหม้


การเผาไหม้ - กระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีที่มีอยู่ในเชื้อเพลิง ให้กลายเป็นพลังงานความร้อน โดยอาศัยออกซิเจน เป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยา ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่เกิดการเผาไหม้


บรรยากาศ

  • ไอเสียที่ปล่อยจะถูกดูดซับด้วยบรรยากาศ
  • สภาพอากาศปลอดโปร่ง ถ่ายเทสะดวก บรรยากาศดูดซับไอเสียได้มาก ไม่ก่อผลต่อผู้รับ

เชื้อเพลิง

  • --------ก๊าซ ------------------------
    • ประสิทธิภาพเผาไหม้สูง
    • กำมะถันน้อย,ปล่อย SO2 ต่ำ
    • ไม่มีขี้เถ้า
    • ค่าใช้จ่ายสูง
    • อุปกรณ์แพง
    • ความปลอดภัยน้อย
  • ก๊าซธรรมชาติ  NGV
    • องค์ประกอบ --> CH4 
    • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
    • เบากว่าอากาศ
    • เชื้อเพลิงสะอาด
  • LPG 
    • ก๊าซเหลวใต้ความดัน 120 psi
    • ผสมระหว่าง โพรเพน [C3H8] & บิเทน [C4H10]
    • กลั่นก๊าซธรรมชาติ
      • ปตท. ---> โพรเพน/บิวเทน   60:40
    • กลั่นน้ำมัน
      • เซลล์ ----> โพรเพน/บิวเทน  20:80
    • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
    • หนักกว่าอากาศ
    • ไวไฟ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ
  • ----เชื้อเพลิงเหลว-----------------------
    • ให้ความร้อนสูง
    • ควันน้อย
    • มีกำมะถันปน เผาจะให้ SO2
    • ขี้เถ้าในน้อย
  • น้ำมันเบนซิน
    • เบาที่สุด
    • ใช้เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะ ออกเทน 91 95
  • น้ำมันก๊าด
    • ใส่ยานไอพ่น ผสมย่าฆ่าแมลง ให้ความร้อนการบ่มยาสูบ
  • น้ำมันเตา
    • ได้จากส่วนล่างของหอกลั่น
    • light fuel oil
  • น้ำมันดีเซล
    • น้ำมันขี้โล้ -รอบต่ำ(เดินเรือ) -ปานกลาง(เครื่องกำเนิดไฟฟ้า)
    • น้ำมันโซล่า - รอบสูง (รถขนส่ง)
    • แก๊สโซฮอล์
    • ผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน และ Ethyl alcohol
    • เอทานอล
    • อัตราส่วน  (เบนซิน 9: เอทานอล 1)
    • มีออกซิเจน ผสมอยู่จึงช่วยให้การเผาไหม้ดี
  • -------เชื้อเพลิงแข็ง----------------------------
  • ถ่านหิน แปรสภาพเป็นถ่านหิน เผาไหม้ให้ความร้อนสูง [C:H]
    • Peat (พีท)
      • สีน้ำตาล ติดไฟให้ควันมาก
      • แปรสภาพเป็นถ่านหินต่อไป
    • Lignite (ลิกไนท์)
      • ถ่านหินคุณภาพต่ำ
      • น้ำตาลถึงดำ
    • Bituminous (บิทูมินัส)
      • คุณภาพสูง
      • เถ้าน้อย ควันน้อย
      • ดำเป็นเงา
      • ใช้ทำเป็นถ่านโค้ก(ตัวทำเชื้อเพลิง)
      • ถ่านโค้ก : เกิดจากการเผาถ่านหิน (บิทูมินัส) ในที่อับอากาศ เพื่อไล่ความชื้น
    • Anthracite (แอนทราไซด์)
      • คุณภาพสูง
      • ติดไฟยาก ให้ความร้อนสูง
  • -------------เชื้อเพลิงชีวมวล---------------------------
  • ได้จากพืช สัตว์
    • ราคาถูก
    • กำมะถันต่ำ ไม่ก่อเรือนกระจก



ความรู้สอบผู้ควบคุมมลพิษอากาศ_2

บทที่ ๒ การตรวจวัดมลพิษทางอากาศ


สารมลพิษทางอากาศ
CAPs : CO, SO2, NO , O3 ,PM,Pb
HAPs : VOCs , PCBs,Dioxin,PAHs,Heavy metals

วิธีการตรวจวัดมลพิษ นอกอาคาร
TSP : Hi-Vol
PM10 : PM10 sample , B-ray
CO : NDIR
SO2 : Technicon I,Pararosaniline,UV-Fluorescent
NO2 : Chemmiluminescence,Sodium Arsehite,TGS ANSA
O3 : Chemmiluminescence ,UV-Photometric
Pb: Hi-Vol,AA,X-ray

ค่าเฝ้าระวังคือ ค่าที่แสดงควบคุม ทำให้ไม่เกินค่ามาตรฐาน


SO2 Fluorescence Method


SO2 + UV=SO2*=SO2+hv


ตย.อากาศเป็น 0 เรียก Zero gas
ตย.ที่ทราบความเข้มข้น เรียก Span gas


CO NDIR Method
gas microphon มี CO เพียวๆ


NO Chemiluninescence  Method  (เรืองแสง)
NO+O3->NO2
NO2-> NO2+hv
NOx-NO = NO2


O3 
1. Chemmiluminescence Method
2. Photometry




Method

  1. หาตำแหน่งและจำนวนจุด  Method 1
  2. อัตราการไหลของก๊าซ  Method 2 
  3. น้ำหนักโมเลกุล  Method 3
  4. ความชื้น   Method 4
  5. ฝุ่น  Method 5
  6. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  Method 6
  7. ไนโตรเจนออกไซด์  Method 7
  8. ซัลฟูริก  Method 8
Method 5 ; particulate


Isokinetic = การเก็บอากาศเท่ากับความเร็วอากาศในปล่อง
Over isokinetic = วิเคราะห์ได้ค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
Under isolinetic = ความเร็วต่ำ ความเข้มข้นฝุ่นสูงกว่าความเป็นจริง


Continuous Emissions Monitoring System ,CEMs

  • Analytical Methods
  • System Design 
              - Extractive CEMs       ----> ดึงอากาศมาวัด เข้าใน analyzer
              - In-situ CEMs        ---------> วัดตรงนั้น

  • Extractive CEMs  แพง แต่วัด paramiter ได้มากกว่า
  • In-situ CEMs  ถูกกว่า เพิ่ม paramiter ต้องเปลี่ยนใหม่หมด
    • paramiter วัดได้น้อย ,เพิ่มยาก ,MNT ได้ยากกว่า

หน่วยการวัด

  • ความทีบแสง ,%
  • ฝุ่น, mg/m3
  • SO2 , ppm
  • NOx ,ppm
  • CO, ppm
  • O2 , %
  • TSP , ppm
  • T , องศา





---------------------------------Next To Unit 3-----------------------------













ความรู้สอบผู้ควบคุมมลพิษอากาศ_1

บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวมลพิษทางอากาศ

ระดับมลพิษอากาศ
๑.บริเวณกว้าง
- ฝนกรด
- โลกร้อน
- บรรยากาศชั้นโอโซนเบาบาง

๒.พื้นที่
- สารมลพิษหลักในบรรยากาศ (CAPs)
- สารพิษในบรรยากาศ (HAPs)
- มลพิษในอากาศ

๑.ฝนกรด
- pH<5.6
- องค์ประกอบ >>  SO42-  and NO3
- pH< 5 มีผลต่อสีและอาคาร
- pH < 6 มีผลต่อปลา
- pH < 3.5 พืช

** SO42-   --> 80%
     NO3   --> 50%
     HF + HCL  --> 5%  (มาจากเตาเผา)


๒.โลกร้อน
ก๊าซเรื่อนกระจก "Greenhouse gases"
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
- ไอน้ำ
- มีเทน (CH4)
- ไนตรัสออกไซด์ ( N2O  )

๓.บรรยากาศชั้นโอโซนเบาบาง
O2 + UVc  -> O3
O3 + UVb -> O2
UVa  ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

UVc  อันตรายสุด
UVb  มะเร็งผิวหนัง
UVb  กระตุ้นวิตามิน D

CFC
- UVc ทำลาย CFC
- Cl+O3 ->O2+ClO   ; O2 ไม่พอดัก UVb -> เกิดมะเร็ง
- ClO+O -> Cl+O2

ถามๆ
ข้อใดไม่ใช่ก๊าซเรื่อนกระจก..........แอมโมเนีย
ข้อใดใช่ก๊าซเรื่อนกระจก................ไนตรัสออกไซด์
อะไรสังเคราะห์ O3 .........................UVc
ทะลุทะลวง..............................UVb

มลพิษทางอากาศ : การคงอยู่ของสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นโดย ความเข้มข้น และ ช่วงเวลา คงอยู่ในบรรยากาศ ทำให้หรือมีแนวโน้มที่จะทำเกิดผลเสีย ต่อ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน

สารมลพิษทางอากาศ
หลักๆ              
1 ฝุ่น
- TSP
- PM10
2 CO
3 SO2
4 NOx
5 O3
6 Pb

TSP ; ถูกดักหมดในทางเดินหายใจ
PM10 ; เข้าสู่ปอด (ฝุ่นเล็กกว่า  2.5 ไมครอน)

SO2 : ดัชนีชี้วัด ความสกปรกในเขตอุตสาหกรรม
O3 + ฝุ่นขนาดเล็ก  -> ความสกปรกในเมือง


จำแนกตามที่มา
๑. ปฐมภูมิ : แหล่งกำเนิดโดยตรง
๒. ทุติยภูมิ : กระบวนการในบรรยากาศ เช่น O3

จำแนกตามแหล่งกำเนิด
1. Point Sources
2. Line Sources
3. Area Sources

NO + NO2 > NOx
NO: สีน้ำตาล
NO2 : ไม่มีสี ,กรด, ระคายเคือง,เข้าข้นสูง,ตาย,น้ำท่วม

สารมลพิษ จำแนกตามแหล่งกำเนิด

สารมลพิษ
1  คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
ก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศเล็กน้อย แย่งที่ออกซิเจนในเลือด Hb จับ CO = 250 เท่า ทำให้เซลล์ตาย
= ยานยนต์,การเผาไหม้
สารตะกั่ว
สะสมในไขกระดูก,โรคโลหิตจาง
= น้ำมันเบนซินเติมสารตะกั่ว,โรงกลั่นน้ำมัน,โรงแบตเตอรี่
1,2 ไนโตรเจนออกไซด์
เกิดการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูง
= ยานยนต์,โรงไฟฟ้า,การเผาไหม้,เครื่องยนต์ดีเซล
2  โอโซน
VOC+NOx เป็นสารออกซิไดซ์รุนแรงมีกลิ่นคาวทะเล น้ำตาไหล แสบตา ทำลายยางธรรมชาติ
= ปฏิกิริยาระหว่างออกไซด์ของไนโตรเจน กับไฮโดนเจนคาร์บอน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
1,2 ฝุ่นละออง TSP,PM10
= ยานยนต์.โรงไฟฟ้า,โรงงาน,ฝุ่นถนน,เผาขยะ
1   ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
เป็นก๊าซมีกรดสีฟ้า เข้มข้นสูง กลิ่นเฉพาะ ฉุนแสบจมูก ระคายเคืองทางเดินหายใจ Synergim กับฝุ่น
= โรงไฟฟ้า,การเผาไหม้,โรงกลั่น

ปัจจัยที่มีผลกระทบ
๑ ขนาด
๒ รูปร่าง (ยาวเรียวอันตรายมากกว่า ขนาดกลม)
๓ องค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น
๔ Synergism > การเสริมพิษ (ถ้าเสริมกัน SO2 มีพิษมากขึ้น)

จากแหล่งเคลื่อนที่
1 เบนซิน 4 จังหวะ ปล่อย CO
2 เบนซิน 2 จังหวะ  ปล่อย HC
3 เบนซินใช้ก๊าซ ปล่อย CO,HC
4 ดีเซล ปล่อย NOx , ฝุ่น
5 รถไฟฟ้า ปล่อย Pb

สถานการณ์คุณภาพอากาศ

เมือง
- กทม & สป.
- เชียงใหม่

พื้นที่เฉพาะ
- แม่เมาะ (ลำปาง) = ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- หน้าพระลาน (สระบุรี) = ฝุ่น
- มาบตาพุด (ระยอง) = VOC

ปัญหาอากาศปริมณฑล
1 ฝุ่น
2 ก๊าซโอโซน

************************ อ่านต่อ บทที่ ๒ *********************************